นอนกรนมีกี่ประเภท?

กรนธรรมดา (Primary snoring)

เสียงกรนอาจมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน ทำให้นอนหลับยาก และอาจตื่นกลางดึก ทำให้คนรอบข้างได้นอนหลับไม่เต็มอิ่ม

ภาวะก้ำกึ่ง (Upper airway resistance syndrome)

เป็นสภาวะนอนกรนหนักขึ้น อาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก สังเกตอาการเบื้องต้น ถึงแม้จะได้นอนหลับแล้วอย่างเต็มที่แต่กลับรู้สึกไม่สดชื่น หรืออาจปวดมึนศีรษะหลังตื่น เหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม อารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิดง่าย สมาธิความจำสมรรถภาพการทำงานถดถอย ง่วงมากตอนกลางวัน รู้สึกเมื่อยล้า และนอนหลับยาก

กรนอันตราย (Obstructive sleep apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก สำลัก เหนื่อยหอบ คอแห้ง และหลังตื่นเช้ามีอาการคล้ายกับนอนกรนภาวะก้ำกึ่ง ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

ผลกระทบของการนอนกรน

นอนหลับยาก

เสียงกรนรบกวนคนรอบข้าง ทำให้นอนหลับยากและอาจตื่นกลางดึก การพักผ่อนที่ไม่ราบรื่นนี้ หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจเป็นโรคนอนไม่หลับได้ (Insomnia)

คุณภาพการนอนหลับ

สภาวะหายใจไม่สะดวกขณะหลับที่เกี่ยวข้องทำให้นอนกรน และอาจสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง หรือขณะหลับสมองยังทำงานโดยเกิดการตื่นตัว (arousal) โดยที่ไม่รู้ตัว ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับลดลง

มีอาการง่วง

นอนไม่เพียงพอส่งผลให้ตื่นเช้ารู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม อาจมีอาการปวดศีรษะ ง่วงมากระหว่างวัน ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการเรียน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากหลับใน

ภูมิคุ้มกันต่ำลง

ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย หากเจ็บป่วย การนอนน้อย นอนไม่เพียงพอยังส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายฟื้นตัวหรือหายป่วยช้า

สภาวะอารมณ์

ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ส่งผลให้สภาวะอารมณ์ไม่สมดุล อารมณ์เสียหรือหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อาจซึมเศร้าได้ เป็นต้น

เสี่ยงต่อการเป็นโรค

นอนน้อยเป็นประจำมีความเสี่ยงทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย อาจนำไปสู่โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ นอกจากจะมีผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้วก็อาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นอายุสั้นได้

ดังนั้นคุณภาพการหลับจึงมีความสำคัญเพื่อให้ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง หลังตื่นเช้ารู้สึกสดชื่น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพจิตดี อารมณ์ไม่แปรปรวนง่าย ช่วยชะลอวัย ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สุขภาพร่างกายแข็งแรงลดความเสี่ยงจากโรคภัย และใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทจะช่วยยืดอายุ

หมายเหตุ
  • รายละเอียดข้างต้น เผยแพร่เพื่อเป็นความรู้เท่านั้น ผู้ใช้บริการควรหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการนำรายละเอียดบนเว็บไซต์นี้ไปเผยแพร่หรือแสดงความคิดเห็น อ่านนโยบาย คลิก »
References
  • sleep disordered breathing (SDB) from The Center for Continuing Education
  • Report of the AASM Clinical Practice Review Committee
  • The role of the nose in snoring and obstructive sleep apnoea ( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3149667/ )
  • American Sleep Disorders Association, Standards of Practice Committee. Practice parameters for the treatment of snoring and obstructive sleep apnea with oral appliances. Sleep 1995;18:511-3
  • Sleep-Disordered Breathing From Claveland Clinic Puneet S. Garcha Loutfi S. Aboussouan Omar Minai Published: January 2013
  • Chaudhry MR, Askinazy FY. Improved mechanical therapeutic nasal dilator to treat nasal airway obstruction. Otolaryng Head Neck Surg 1990;102:298-300. Chaudhry MR, Askinazy FY. Improved mechanical therapeutic nasal dilator to treat nasal airway obstruction. Otolaryng Head Neck Surg 1990;102:298-300
  • Chaudry MR, Duvalsaint F, Doss NW, et al. Comparison of neosynephrine and mechanical nasal dilator in relief of anterior nasal obstruction. Proc West Pharmacol 1991;34:319-21
  • Hoffstein V, Mateika S, Metes A. Effects of nasal dilation on snoring and apneas during different stages of sleep. Sleep 1993;16:360-5
  • แนวทางการพัฒนาการวินิจฉัยและรักษานอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในประเทศไทยสาหรับผู้ใหญ่ (บางส่วน)